5 ประเภท Order ในตลาด Futures
ในตลาด Futures ของ Binance นั้นมีเครื่องมือเพื่อให้เราใช้เพื่อเพิ่มผลกำไรในการเทรด bitcoin หรือเหรียญ alcoin อื่นๆและลดความเสียหายของเราให้มากที่สุด โดยเครื่องมือการเปิด order ในตลาด Futures นั้นมีหลากหลายแบบขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของแต่ละท่าน โดยมีทั้งออเดอร์ที่เหมือนกับตลาด Spot และมี order ประเภท Advance order โดย ณ ปัจจุบัน ออเดอร์ในตลาด Futures ของ Binance นั้นมีให้เลือก 5 แบบด้วยกัน สำหรับท่านที่ยังไม่เคยเทรดตลาด Futures มาก่อนเราขอแนะนำให้ศึกษาการเทรด Futures ผ่าน Video การสอนและศึกษากฏการเทรดให้ดีก่อนเริ่มทำการเทรด
ลิงค์สมัคร Binance : https://bit.ly/2Vtn7HJ
Binance มี Order หลายประเภทโดยที่มีให้เลือกดังนี้
Limit Order
Limit Order คือ ออเดอร์ที่เราสามารถตั้งราคาได้ และออเดอร์จะถูกดำเนินการและเติมเต็มออเดอร์ เมื่อถึงราคาที่เรากำหนดไว้เท่านั้น หากยังไม่ถึงราคาที่กำหนด ออเดอร์จะไม่ถูกเติมเต็ม โดยที่ออเดอร์ของเราจะไปรออยู่ใน Order Book
วิธีการใช้ Limit order
- ช่อง Price (ราคา) คือช่องที่ใส่ราคาเหรียญที่เราต้องการ
- ช่อง Size คือใส่ขนาดออเดอร์ที่เราต้องการ
- กด Buy/Long เพื่อทำการ Long (เมื่อเราคิดว่าเหรียญจะราคาเพิ่มขึ้น)
- กด Sell/Short เพื่อทำการ Short (เมื่อเราคิดว่าเหรียญจะราคาลดลง)
เมื่อกรอกข้อมูลและเลือก Long หรือ Short ตามที่ต้องการแล้ว ออเดอร์จะถูกสร้างขึ้น
ข้อดีของ Limit Order : เราจะได้ราคาที่เราต้องการแน่นอน ทำให้เราคำนวนกำไรขาดทุนได้อย่างง่ายดาย
ข้อเสียของ Limit Order : ออเดอร์อาจไม่ถูกเติมเต็มหากวอลลุ่มไม่เพียงพอหรือในช่วงที่ราคาผันผวนอย่างหนักการจับคู่ออเดอร์ในราคาที่เรากำหนดอาจจะไม่สามารถทำได้ทั้งหมด
Market Order
Market Order คือ ออเดอร์ที่จะทำการซื้อหรือขายทันทีที่ราคาตลาด ณ ขณะนั้น ซึ่งอาจจะไม่ใช่ราคาที่ดีที่สุดแต่จะได้ออเดอร์ทันที โดยการตั้งออเดอร์ประเภทนี้เราจะเสียค่า ธรรมเนียมแบบ Maker Fee
วิธีใช้ Market Order
- เราต้องกรอกแค่ Size ของออเดอร์เท่านั้น ไม่ต้องใส่ราคา
- จากนั้นกด Buy/Long หรือ Sell/Short ได้เลย
ข้อดีของ Market Order: เราจะได้ออเดอร์อย่างแน่นอนด้วยความรวดเร็วที่ราคาตลาด (Market Price)
ข้อเสียของ Market Order: ออเดอร์ที่ได้มานั้นอาจได้มาในเรทราคาที่หลากหลาย ทำให้คำนวนต้นทุนยากกว่าแบบ Limit Order
Stop-Limit Order
Stop-Limit Order คือ ออเดอร์ที่เราสามารถตั้งราคาที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนสวิทในการเปิดออเดอร์ได้ โดยจะมีช่อง Stop และช่อง Limit ให้กรอก ถ้าหากราคาถึงจุด Stop แล้ว ระบบจะทำการสร้างออเดอร์ตามเรทราคาช่อง Limit ทันที
วิธีการใช้ Stop-Limit Order
- Stop price คือช่องที่เราต้องใส่ราคาที่ทำหน้าที่เป็นตัวทริกเกอร์ให้สร้างออเดอร์
- Price คือช่องที่เรากรอกราคาออเดอร์ที่ระบบจะทำการสร้างขึ้น (เป็นแบบ Limit)
- Size คือช่องที่ใช้กรอกขนาดของออเดอร์
ข้อดีของ Stop-limit Order: เราสามารถตั้งราคา Stop ได้ทำให้ลดความเสียหายลงไปได้มากหากทุกอย่างไม่เป็นไปตามที่เราคาดการณ์
ข้อเสียของ Stop-limit Order : หากระยะ Stop และ Price ไม่มากพอ อาจทำให้ออเดอร์ไม่ถูกเติมเต็มได้
Stop-market Order
Stop-market Order คือออเดอร์ที่ทำงานคล้ายกับ Stop-limit Order แต่เมื่อถึงราคา Stop ระบบจะทำการสร้าง Market Order แทน Limit Order
วิธีการใช้ Stop-market Order
- Stop price คือช่องที่เราต้องใส่ราคาที่ทำหน้าที่เป็นตัวทริกเกอร์ให้สร้างออเดอร์
- Size คือช่องที่ใช้กรอกขนาดของออเดอร์
ข้อดีของ Stop-market Order: ต่างจาก Stop-limit Order หากถึงราคา Stop แล้วออเดอร์เราจะมีโอกาสถูกเติมเต็มมากว่า เนื่องจากออเดอร์ที่ถูกสร้างเป็น Market order
ข้อเสียของ Stop-market Order: เช่นเดียวกัน Market Order เราอาจได้มาในเรทราคาที่ควบคุมไม่ได้
Trailing stop order
Trailing stop order คือ ออเดอร์ที่ทำงานกึ่งอัตโนมัติโดยสามารถตั้งให้ออเดอร์นั้นเปิดไว้หากราคายังไปในทิศทางที่เพิ่มกำไรให้เรา แต่เมื่อราคาไปอีกทางตามเปอเซนต์ที่เราตั้งไว้ ออเดอร์จะถูกปิดทันที
วิธีการใช้งาน Trailing stop order
- Callbakc Rate คือใส่เปอเซ็นราคาที่เราต้องการให้ออเดอร์ปิด เมื่อถึงเปอเซนต์นั้นๆ
- Activation Price คือ ใส่ราคาที่เราต้องการ
- Size ใส่ขนาดของออเดอร์
เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยให้เรากด Buy/Long หรือ Sell/Short เพื่อเปิดออเดอร์ได้เลย
ข้อดีของ Trailing stop order: สามารถกำหนด Callback Rate เพื่อป้องกันความเสียหายได้
ข้อเสียของ Trailing stop order: หากเปอเซนต์ที่เรากำหนดมีระยะไม่มากพอ อาจทำให้ได้กำไรน้อยกว่าที่ควรได้
จากรายละเอียดทั้งหมดด้านบนจะเห็นได้ว่าการซื้อ Bitcoin หรือ Altcoin ในตลาด Futures นั้นสามารถทำได้ผ่านออเดอร์ทั้งหมด 5 แบบ ทั้งนี้ในแต่ละออเดอร์จะมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ วิธีการ และความถนัดของแต่ละคน
ที่มา binance.com/th/blog/